การทำนาของเกษตรกรไทยในปัจจุบันนิยมการทำนาแบบนาหว่าน นาหว่าน คือ การปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงดินที่ไถเตรียมเอาไว้ วิธีการทำนาหว่านเป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมเพราะสามารถทำได้รวดเร็วใช้เวลาน้อยและประหยัดต้นทุนในการจ้างแรงงานคน
https://me-panya.com/07/2019/5361/
ประเภทของนาหว่าน
วิธีการทำนาหว่าน แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
1.นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวหลังจากการไถแปรเสร็จแล้วโดยที่ไม่ต้องไถกลบ เป็นการหว่านข้าวเพื่อรอฝน
2.นาหว่านข้าวงอก เป็นการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้มีรากงอกแล้ว นำไปหว่านลงในนาที่มีการไถเดินเตรียมไว้แล้วซึ่งขณะหว่านดินมีสภาพเป็นตม
วิธีดูแลรักษาที่เกษตรกรควรรู้เพื่อให้ได้ผลผลิตดี
– พันธุ์ข้าว แนะนำให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ที่มีลักษณะต้นเตี้ย จะทำให้ลำต้นและใบไม่ไวต่อแสง (เป็นลักษณะที่ต้นข้าวเจริญเติบโตมากเกินไปเมื่อได้รับแสงแดด ส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่จะได้รับ) ทำให้ต้นข้าวแข็แรงและไม้โค่นล้มง่ายเมื่อเจอแรงลม
– ระดับน้ำ วิธีการทำนาหว่านให้ได้ผลผลิตดีเกษตรกรควรรักษาระดับน้ำตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ดข้าวจนถึงระยะที่ข้าวแตกกอ โดยควรรักษาระดับน้ำให้ไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยเมื่อข้าวเริ่มแตกกอสามารถเพิ่มระดับน้ำได้อีกเล็กน้อยโดยจะต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร หากปล่อยให้มีระดับน้ำที่มากเกินไปจะทำให้ต้นข้าวสูงมากเกินไปเมื่อเจอแรงลมก็จะล้มเสียหายได้ง่ายส่งผลให้การเก็บเกี่ยวทำได้ยากขึ้นไปด้วย ซึ่งจะเห็นว่าการที่ต้นข้าวสูงใหญ่มีใบสวยไม่ได้เกิดประโยชน์และไม่ได้ทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นแต่อยางใด
– การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยให้ตรงตามระยะการเจริญเติบโตของพืช จะช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยได้และในขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งข้อสังเกตความสมบูรณ์ของดินให้สักเกตการเจริญเติบโตของต้นข้าวและวัชพืช นำมมาเปรียบเทียบกันว่าอะไรที่เจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน หากผลปรากฏว่าวัชพืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นกล้า นั่นแสดงว่าความสมบูรณ์ของดินมีน้อย
ในช่วง 15-20 วันแรกของการหว่านข้าวลงดินยังไม่ต้องให้ปุ๋ยก่อน รอจนครบ 25 วัน เมื่อข้าวเริ่มแตกกอจึงเริ่มใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร N-P-K ถ้าปลูกในนาที่เป็นดินเหนียวให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 แต่ในกรณีที่เป็นดินทรายให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในปริมาณ 30 กิโลกรัมต่อพื้นนาที่ 1 ไร่
https://www.blockdit.com/posts/5f51b90d552f630cd11bf180
วิธีการทำนาหว่านที่จะทำให้ได้ผลผลิตดีอีกอย่างหนึ่งคือ เกษตรกรจะต้องคอยสังเกตว่าเมื่อเห็นว่าข้าวเริ่มติดช่อดอกจะเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการไนโตรเจน เกษตรกรต้องรีบใส่ปุ๋ยยูเรียบำรุงเพิ่มอีก ในปริมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่กำหนดจะไปสอดคล้องพอเหมาะพอดีกับระดับที่เราได้พยายามรักษาให้อยู่ในระดับ 5 เซนติเมตร โดยน้ำระดับนี้เป็นปริมาณที่พอดีกับการย่อยสลายของปุ๋ยและบำรุงต้นข้าวได้ รวมทั้งจะช่วยทำให้วัชพืชไม่เจริญเติบโตขึ้นมาแย่งปุ๋ยข้าวอีกด้วย ในทางกลับกันหากน้ำมากไปปุ๋ยจะเกิดการเจือจางและระเหยออกไปไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในขั้นตอนของวิธีการทำนาหว่านมีข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งที่เกษตรกรควรทราบนั่นก็คือ ก่อนการใส่ปุ๋ยข้าวหากมีฝนตก หรือ คาดว่าฝนกำลังจะตกไม่ควรใส่ปุ๋ยข้าวในวันนั้น เพราะจะทำให้ปุ๋ยเกิดความเจือจางไม่ได้ประโยชน์และสิ้นเปลืองปุ๋ยด้วยนั่นเองค่ะ