เพกา หรือ ลิ้นฟ้า ( Broken bones tree ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oroxylum indicum จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกเดียวกันกับไม้วงศ์แคหางค่าง ( BIGNONIACEAE ) โดยต้นลิ้นฟ้านี้เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานตั้งแต่ในสมัยโบราณมาจนถึงในปัจจุบัน พบว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในประเทศไทยมักพบได้ทั่วไปทุกภูมิภาค แต่จะพบมากในภาคอีสานและภาคเหนือ มักพบในป่าเบญจพรรณและป่าดิบชื้นทั่วไป และก็มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่นำต้นลิ้นฟ้านี้มาทานเป็นผัก ( อยู่ในหมวดดอกฝัก )
https://www.postsod.com/pigeon-or-blue-tongue
ต้นเพากา ความเชื่อที่มีในสมัยโบราณมักไม่นิยมนำมาปลูกเอาไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากว่ารูปร่างของฝักมีลักษณะคล้ายกับหอกหรือดาบ เชื่อว่าอาจจะทำให้คนในบ้านพบแต่เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจหรืออาจจะต้องมีเรื่องให้เลือดตกยางออก อีกทั้งยังเป็นชื่อที่ใช้เรียกเหล็กที่ประดับส่วนยอดของพระปรางค์ ( มีรูปร่างคล้ายฝักขอเพกา ) ถือว่าเป็นของสูงไม่เหมาะที่จะนำมาปลูกไว้ในบ้าน ส่วนมากมักจะนำไปปลูกตามเรือกสวนไร่นา ฯลฯ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นเพกาโดยทั่วไป
https://www.disthai.com/16941195/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2
ลักษณะต้นเพกามีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เพกามีผิวเปลือกขรุขระ สีน้ำตาลอมเทา ใบสีเขียวรูปทรงโค้งมน ปลายเรียวแหลม มองเห็นกลางใบชัดเจน มีก้านใบสีเขียวค่อนข้างยาว มีดอกเป็นแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาว มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบมีลักษณะพับย่นสีแดงเลือดหมู มีเกสรอยู่บริเวณกลางดอก
https://puechkaset.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2/
เป็นพืชสมุนไพรที่มีผลสีเขียว ลักษาณะเป็นฝักรูปทรงแบน มีขนาดใหญ่ รูปทรงคล้ายดาบ ปลายฝักแหลม ออกเป็นพวงย้อยลงบริเวณปลายกิ่ง เมื่อแก่ปลายฝักจะแตกออก ด้านในบรรจุเมล็ดพันธุ์จำนวนมาก เมล็ดมีรูปทรงแบนสีน้ำตาลอ่อน ถูกหุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ สีขาวช่วยให้ล่องลอยไปตามลมได้ไกล
“ เพกา ” พืชสมุนไพรหลากสรรรพคุณที่หลายคนอาจไม่รู้
http://alangcity.blogspot.com/2013/01/blog-post_9.html
เรียกได้ว่าเป็นทั้งผักและพืชสมุนไพรในเวลาเดียวกันสำหรับเพกา พันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีสรรพคุณหลากหลาย แม้จะมีรสขมแต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบในความขมนั้น นิยมนำมาทานเป็นผักต้มทานคู่กับน้ำพริก ซึ่งในความอร่อยนั้นก็ยังได้สุขภาพที่ดีกลับมาด้วย เนื่องจากเพกามีสรรพคุณทางยาสามารถช่วยรักษาโรคได้ ซึ่งสรรพคุณของเพกามีดังนี้
https://moombhesaj.com/product/peaka/
ฝักอ่อน – ช่วยบำรุงสายตา , ช่วยต้านอนุมูลอิสระ , ชะลอการเกิดริ้วรอย , ต้านการเกิดโรคมะเร็ง , ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น , ขับเสมหะ
ฝักแก่ – แก้ร้อนใน
ราก , ฝักอ่อน , เพกาทั้ง 5 ส่วน – เป็นยาบำรุงธาตุ
ราก , ใบ – ช่วยเจริญอาหาร, ช่วยเรียกน้ำย่อย
ใบ – แก้อาการไข้ , แก้อาการปวดท้อง
เปลือกต้น – ช่วยรักษาโรคเบาหวาน , บำรุงโลหิต , ช่วยระบบการไหลเวียนของเลือด , ช่วยดับพิษในเลือด , แก้อาการอาเจียนไม่หยุด , แก้อาการจุก เสียด แน่นท้อง , รักษาอาการท้องร่วง , บรรเทาอาการโรคริดสีดวง , ช่วยขับน้ำเหลือง , ลดอาการอักเสบ , ช่วยสมานแผล
เมล็ด – แก้อาการไอ , บรรเทาอาการแน่นหน้าอก , ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด ฯลฯ
https://www.silpa-mag.com/culture/article_8846
ปัจจุบันนอกจากนิยมนำมาทานเป็นผักแล้ว ยังนิยมนำมาทำเป็นพืชสมุนไพรใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ ด้วย ซึ่งสรรพคุณของเพกายังมีอีกมากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้างสำหรับการทานเพกาในปริมาณมากจนเกินไป คือ อาจจะทำให้แท้งบุตรได้เนื่องจากเป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน ดังนั้นสตรีมีครรภ์จึงควรงดเว้นการทานไปก่อนค่ะ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อต้นพันธุ์มาปลูกกันได้ค่ะ โดยมีจำหน่ายตามร้านขายพันธุ์ไม้ทั่วไปในราคาเริ่มต้น 150 ต่อต้น ซึ่งเรทราคาที่ขายในแต่ละร้านอาจมีความแตกต่างกัน โดยมักจะอิงจากขนาดต้น ความสมบูรณ์ของต้น และสายพันธุ์ ค่ะ