แนะนำวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวนาปีให้ได้ผลดีมีผลผลิตสูงที่เกษตรกรควรรู้

เกษตร

ในขั้นตอนของการทำนาข้าว เกษตรกรจำเป็นจะต้องรู้ถึงขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวในพื้นที่นาต่างๆ เพื่อจะได้นำไปปรับใช้กับสภาพพื้นที่นาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนล้วนแต่สำคัญและมีผลกับผลผลิตที่จะได้รับเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวอีกด้วย

เกษตร

https://www.tkkfer.com/2016/11/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

แนะนำวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวนาปีของเกษตรกรตามฤดูกาล

วิธีการใส่ปุ๋ยข้าวในที่นี้จะหมายความรวมถึง ข้าวนาน้ำฝนทั้งแบบนาหว่านและนาหยอด ซึ่งมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยแบ่งตามประเภทของดินที่ใช้ปลูกและลักษณะของข้าว ซึ่งจะมีลักษณะข้าวที่ไวต่อช่วงแสงและข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง โดยข้าวที่ไวต่อช่วงแสงคือข้าวที่จะออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีช่วงกลางวันสั้น แต่ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงจะมีการออกดอกเมื่อถึงเวลาตามกำหนดโดยไม่เกี่ยวกับความสั้นหรือยาวของเวลากลางวัน จึงสามารถแบ่งเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

เกษตร

https://www.chiataigroup.com/article-detail/fertilizerforrice

1.สภาพดินร่วนทรายหรือดินทราย

ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 เมื่อได้ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในนาแล้ว ให้นับไปอีก 30 วัน จากนั้นหากเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวสูตร 16-16-8 ในปริมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่  หรือใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตร 16-20- 0 , 18 -22-0 , 18-46-0 , 20-20-0  ซึ่งจะใช้ในปริมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่เท่ากัน โดยใช้ร่วมกับโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60  ในปริมาณ 5-10 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่

ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 เกษตรกรจะต้องมีการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ในระยะที่ข้าวเริ่มมีการปฏิสนธิเกิดช่อดอกหรือ 30 วันก่อนที่ข้าวจะออกดอกนั่นเอง กรณีข้าวไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวยูเรีย สูตร  46-0-0  ในปริมาณ 10 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่  หรือเกษตรกรอาจจะใช้ปุ๋ยใส่ข้าวแอมโมเนียมซัลเฟต สูตร 21-0-0 ในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่  แต่หากเป็นในกรณีที่ข้าวนั้นไม่ไวต่อช่วงแสง  เกษตรกรสามารถ46-0-0  ในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ด้วย  ก่อนที่จะมีการถ่ายในรอบแรกแนะนำให้ใช้มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ควาย และปุ๋ยหมัก ลงไปบำรุงดินในปริมาณ 600 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ หรือตามความเหมาะสม  จากนั้นให้ไถกลบปุ๋ยเหล่านั้นลงไปด้วย

เกษตร

https://www.thairath.co.th/content/442642

2.สภาพดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว

 – ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 ในช่วง30 วัน หลังจากที่ข้าวเริ่มงอก หากเป็นกรณีที่ข้าวไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตร 16-20-0 , 18-22-0 หรือ 18-46-0 ก็ได้ ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ แต่หากเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวแอมโมเนียมฟอสเฟตตามสูตรเดิมในข้างต้น แต่เพิ่มปริมาณเป็น 30-35 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่

– ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 ในช่วง 30 วันก่อนเข้าจะออกดอก หากเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวยูเรีย สูตร 46-0-0 ปริมาณ 10 กรัมต่อ 1 ไร่ แต่หากเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงมีวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวโดยให้ใช้ปุ๋ยใส่ข้าวยูเรียสูตรเดียวกัน แต่เพิ่มปริมาณเป็น 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่

ทั้งนี้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้เช่นเดียวกัน โดยการไถกลบต่อข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยวในฤดูกาลก่อน และมีการใช้ปุ๋ยบำรุงดิน เช่น ขี้วัว ขี้ควาย มูลสัตว์ และปุ๋ยหมักต่างๆในปริมาณเช่นเดียวกันกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในประเภทดินทรายในข้างต้น คือ 600 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ 

เกษตร

https://siamrath.co.th/n/115598

วิธีการใส่ปปุ๋ยข้าวของชาวกษตรกรไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแต่ว่าเกษตรกรจะต้องมีความใส่ใจและพิถีพิถันคอยสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของต้นข้าว หากมีปัญหาหรือมีวัชพืชใดๆเกิดขึ้นมาเราจะได้เห็นและแก้ไขได้ทันท่วงที ในส่วนของปุ๋ยใส่ข้าวก็สามารถใช้ได้ตามที่ระบุในข้างต้น ซึ่งสูตรปุ๋ยก็จะไม่ค่อยต่างกันมากสักเท่าไรนัก อาจจะมีเพิ่มมีลดเป็นบางตัวซึ่งหากใช้ปุ๋ยสูตรดังกล่าวที่แนะนำไปในข้างต้นก็จะสามารถช่วยทำให้ชาวเกษตรกรได้ผลผลิตที่สูงมากยิ่งขึ้นค่ะ